วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เครื่องดนตรีในการเล่นกันตรึม


ประเภทเครื่องดีด
พิณกระแสเดียวหรือ กระแสมุย แปลว่า พิณเสียงเดียวหรือพิณสายเดียว กระโหลกพิณทำด้วยลูกน้ำเต้าแก่จัดตากให้แห้งตัดครึ่งด้านขวางของผล แกะเมล็ดในและเยื่อออกให้หมด ใช้หวายขันชะเนาะกระโหลกน้ำเต้าให้ติดกับโคนของคันพิณลูกบิดอยู่ทางด้านโคนสุดของคันพิณขึงโยงด้วยสายโลหะ จากลูกบิดสอดหวายที่ขันชะเนาะอยู่ไปผูกกับปลายคันพิณ ตอนปลายสุดมีลักษณะงอนเป็นรูปพระยานาคชูหัว ซึ่งชาวไทยภาคกลางเรียกว่า พิณน้ำเต้า จาเป่ย หรือ กระจับปี่ มีลักษระคล้าย ซึง มีสายคู่ซึ่งสายแต่ละคู่ตั้งเสียงให้เท่ากัน คันพิณทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ส่วนกล่องเสียงจะทำด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ที่ส่วนปลายสุดของคันพิณมีรู 4 รู เพื่อใส่ลูกบิดและร้อยสาย และที่คันพิณจะมีที่วางนิ้วซึ่งขัดไว้เป็นระยะๆ
อังกุ๊ยจ์ ชาวไทยภาคกลางเรียกว่า จ้องหน่อง ลักษณะเดียวกันกับ หุน หรือ หืน ทำด้วยไม้ไผ่

ตรัว ซอกันตรึม พิณน้ำเต้า ตรัวอู้


ประเภทเครื่องสี เครื่องดนตรีที่ใช้สีด้วยคันชักหรือคันสีที่รู้จักกันดี ได้แก่ ซอกันตรึม หรือ ตรัว ลักษณะของวอกันตรึมนี้ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับซอด้วงและซออู้ที่ใช้ในวงดนตรีไทยในปัจจุบัน ในอีสานใต้นี้พบว่ามีใช้กันอยู่ 4 ขนาด

ซอเล็ก หรือ ตรัวจ์ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายซอด้วง แต่มีเสียงสูงและแหบกว่า

ซอกลาง หรือ ตรัวซอ มีขนาดใหญ่กว่าซอเล็ก

ซอใหญ่ หรือ ตรัวซอ มีขนาดใหญ่ที่สุด

ซออู้ หรือ ตรัวอู มีลักษณะคล้ายซออู้ตามปกติ ซอทั้ง 4 ขนาดมีรูปร่างไม่แตกต่างกันมากนัก ต่างกันเฉพาะขนาดและวัสดุที่ใช้ทำกระโหลกซอเท่านั้น ซอเล็กนั้นบางครั้งพบว่าใช้เขาควายมาทำเป็นกระโหลก แต่ซอกลางและซอใหญ่นั้นนิยมใช้ไม้ขนุนหรือไม้เนื้อแข็ง ส่วนซออู้นั้นกระโหลกซอจะใช้กะลามะพร้าวขนาดใหญ่ และใช้หนังงูเหลือม หรือหนังตะกวดปิดหน้ากระโหลกซอ วงกันตรึมในปัจจุบันนิยมใช้ซอกลางและซออู้บรรเลงในงานทั่วๆ ไป





กลองกันตรึม ปี่เญ็น ปี่อังกอ, ปี่จรุง, ปี่โจร่ง

ประเภทเครื่องตี ได้แก่

กลองกันตรึม หรือ สะกัว มีลักษณะเป็นกลองขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายโทนดินเผา ตัวกลองขุดจากไม้ขนุน หรือลำต้นมะพร้าวโดยกลึงภายนอกให้ได้รูปร่างเสียก่อน จึงเจาะคว้านภายในให้เป็นโพรงกลวง ใช้หนังวัวหรือหนังงูเหลือมหุ้มปากกลอง
นอกจากนี้ยังมีเครื่องตีอื่นๆ อีก เช่น ระนาดเอก ฆ้องวง ฆ้องราว ฆ้องหุ่ย กลองรำมะนา กลองตะโพน ฉิ่ง ฉาบ

ปี่ไฉน ปี่ไสน ปี่เน แป็ยออ ปี่อ้อ อังกุ๊ยส์

ประเภทเครื่องเป่า
ปี่อ้อ หรือ แบ็ยอด เป็นปี่ที่ทำจากไม้ไผ่ ส่วนที่เป็นตัวปี่ทำด้วยไม้อ้อ โดยเหลาปลายข้างใดข้างหนึ่งจนบางแล้วบีบให้แบนประกบกันในลักษณะลิ้นคู่ แต่ที่ปลายลิ้นยังมีลักษณะกลมเพื่อสอดส่วนที่เป็นท่อนปลายของตัวปี่ และใช้ไม้ไผ่หรือหวายเล็กบีบประกบกัน เพื่อให้ปลายลิ้นของปี่มีรูปร่างคงเดิมอยู่เสมอ ลำตัวของปี่อ้อจะเจาะรูด้านบน 7 รู และด้านล่างอีก 1 รูไว้สำหรับปิดเปิดเปลี่ยนระยะทางเดินของลมเวลาเป่า
ปี่สไนง์ หรือ สแนง เป็นปี่ชนิดหนึ่งที่ทำมาจากเขาควาย โดยเจาะช่องด้านบนของเขาควาย ใส่ลิ้นอย่างแคน ผนึกด้วยขี้สูดให้สนิท ใช้เชือกผูกปลายเขาทั้งสองข้างแขวนคอแล้วใช้ปากเป่า โดยใช้อุ้งมือขวาปิดเปิดเพื่อควบคุมระดับเสียง


ลักษณะการผสมวงวงบรรเลง


วงตุ้มโมง ประกอบด้วย ฆ้องหุ่ย (ฆ้องชัย) 1 ใบ กลองเพลขนาดใหญ่ 1 ใบ ปี่ในขนาดเล้ก 1 ใบ ฆ้องราว 1 ใบ วงกันตรึม ประกอบด้วย กลองกันตรึม (กลองโทน) 2 ใบ ปี่อ้อ 1 เลา ปีชลัย (ปี่ใน 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ 1 คู่ กรับ 1 คู่

วงมโหรี ประกอบด้วย ซอด้วง 1-2 คัน ซอตรัวเอก (ซออู้) 1-2 คัน ระนาดเอก 1 ราง พิณ 1 ตัว ปี่ชลัย 1 เลา กลองกันตรึม (โทน) 2 ใบ รำมะนา 1 ใบ ฉิ่ง, ฉาบ, และกรับอย่างละ 1 คู่ วงดนตีประกอบเรือมมม็วต

วงใหญ่ ประกอบด้วย ซอ 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัย 1 เลา กลองกันตรึม 2 ใบ กลองตะโพน 1 ใบ ฉิ่งและกรับอย่างละ 1 คู่

วงเล็ก ประกอบด้วย ซอ 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา กลองกันตรึม 2 ใบ เจรียง (นักร้อง) 1 คน (คนตีกลองทำหน้าที่เป็นนักร้องด้วย)

วงดนตีประกอบเรือมอันเร ประกอบด้วย ซออู้ขนาดกลาง 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัย 1 เลา โทน 2 ใบ ตะโพน 1 ใบ ฉิ่ง, ฉาบ และกรับอย่างละ 1 คู่

ความเป็นมาของกันตรึม







เป็นการละเล่นที่มีมานาน แรกเริ่มนิยมเล่นประกอบพิธีกรรม เรียกว่า เล่นเพลงอารักษ์ รักษาคนไข้โดยมีความเชื่อว่าผู้ป่วยประพฤติผิด เป็นเหตุทำให้เทวดาอารักษ์ลงโทษ รักษาโดยใช้เครื่องดนตรีกันตรึมประกอบในพิธีกรรมดังกล่าว ยังนิยมกันมาถึงทุกวันนี้
มีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่อ้อ ซอกลาง กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และการร้องประกอบเพลงในทำนองต่าง ๆ ร่วม 200 ทำนองเพลง ต่อมาได้นำมาบรรเลงในพิธีแต่งงาน เป็นเพลง กล่อมหอ ของคู่บ่าวสาว และได้พัฒนาวงกันตรึมเป็นกันตรึมประยุกต์ตามสมัยนิยม ปัจจุบันมีอยู่หลายคณะ เช่น วงของชาวบ้านดงมัน คณะน้ำผึ้งเมืองสุรินทร์ ฯลฯ และได้ปรับรูปแบบแข่งขันกันเป็นธุรกิจกันตรึมร็อค กันตรึมเจรียง เป็นต้น
กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาแต่เมื่อไร ลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายเพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัดของภาคกลาง กันตรึมไม่มีแบบแผนของท่ารำที่แน่นอน ไม่เน้นทางด้านการรำ แต่เน้นความไพเราะของเสียงร้องและความสนุกสนานของทำนองเพลง ปัจจุบันมีการพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลอย่าง กลองชุด กีตาร์ และไวโอลินมาเล่นประกอบตามความนิยมของผู้ดู
ลักษณะทั่วไปของเพลงกันตรึม คือ เนื้อร้องเป็นภาษาเขมร จำนวนแต่ละวรรคไม่จำกัด บทเพลงหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละบทไม่จำกัดความยาว สัมผัสระหว่างบท บางบทก็มีบางบทก็ไม่มี บทเพลงกันตรึมไม่นิยมร้องเป็นเรื่องราว มักคิดคำกลอนให้เหมาะกับงานที่เล่นหรือใช้บทร้องเก่า ๆ ที่จำกันมา ทำนองเพลงมีหลายจังหวะ ประมาณ 228 ทำนองเพลง มีมากจนบางทำนองไม่มีใครสามารถจำได้เพราะไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์ อาศัยการจดจำเท่านั้น คุณค่าของบทเพลงกันตรึมอยู่ที่เนื้อร้องส่วนใหญ่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมชนบท กล่าวถึงการทำนา ภารกิจ งานบ้านซึ่งเป็นหน้าที่ของภรรยา การหารายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นหน้าที่ของสามี และแสดงค่านิยมในสังคม อาทิ การเลือกคู่ครอง เป็นต้น
(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 130 และ 145-148)
กันตรึมที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม คือ คณะบ้านดงมัน อ.เมือง จ.สุรินทร์ โดยมีอ.ปิ่น ดีสมและอ.โฆษิต ดีสม เป็นผู้ควบคุมคณะ (วารสารทางวิชาการราชภัฏบุรีรัมย์ ฉบับปฐมฤกษ์ มหกรรมวัฒนธรรม 2541 งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 หน้า