เป็นการละเล่นที่มีมานาน แรกเริ่มนิยมเล่นประกอบพิธีกรรม เรียกว่า เล่นเพลงอารักษ์ รักษาคนไข้โดยมีความเชื่อว่าผู้ป่วยประพฤติผิด เป็นเหตุทำให้เทวดาอารักษ์ลงโทษ รักษาโดยใช้เครื่องดนตรีกันตรึมประกอบในพิธีกรรมดังกล่าว ยังนิยมกันมาถึงทุกวันนี้
มีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่อ้อ ซอกลาง กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และการร้องประกอบเพลงในทำนองต่าง ๆ ร่วม 200 ทำนองเพลง ต่อมาได้นำมาบรรเลงในพิธีแต่งงาน เป็นเพลง กล่อมหอ ของคู่บ่าวสาว และได้พัฒนาวงกันตรึมเป็นกันตรึมประยุกต์ตามสมัยนิยม ปัจจุบันมีอยู่หลายคณะ เช่น วงของชาวบ้านดงมัน คณะน้ำผึ้งเมืองสุรินทร์ ฯลฯ และได้ปรับรูปแบบแข่งขันกันเป็นธุรกิจกันตรึมร็อค กันตรึมเจรียง เป็นต้น
กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาแต่เมื่อไร ลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายเพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัดของภาคกลาง กันตรึมไม่มีแบบแผนของท่ารำที่แน่นอน ไม่เน้นทางด้านการรำ แต่เน้นความไพเราะของเสียงร้องและความสนุกสนานของทำนองเพลง ปัจจุบันมีการพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลอย่าง กลองชุด กีตาร์ และไวโอลินมาเล่นประกอบตามความนิยมของผู้ดู
ลักษณะทั่วไปของเพลงกันตรึม คือ เนื้อร้องเป็นภาษาเขมร จำนวนแต่ละวรรคไม่จำกัด บทเพลงหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละบทไม่จำกัดความยาว สัมผัสระหว่างบท บางบทก็มีบางบทก็ไม่มี บทเพลงกันตรึมไม่นิยมร้องเป็นเรื่องราว มักคิดคำกลอนให้เหมาะกับงานที่เล่นหรือใช้บทร้องเก่า ๆ ที่จำกันมา ทำนองเพลงมีหลายจังหวะ ประมาณ 228 ทำนองเพลง มีมากจนบางทำนองไม่มีใครสามารถจำได้เพราะไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์ อาศัยการจดจำเท่านั้น คุณค่าของบทเพลงกันตรึมอยู่ที่เนื้อร้องส่วนใหญ่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมชนบท กล่าวถึงการทำนา ภารกิจ งานบ้านซึ่งเป็นหน้าที่ของภรรยา การหารายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นหน้าที่ของสามี และแสดงค่านิยมในสังคม อาทิ การเลือกคู่ครอง เป็นต้น
(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 130 และ 145-148)
กันตรึมที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม คือ คณะบ้านดงมัน อ.เมือง จ.สุรินทร์ โดยมีอ.ปิ่น ดีสมและอ.โฆษิต ดีสม เป็นผู้ควบคุมคณะ (วารสารทางวิชาการราชภัฏบุรีรัมย์ ฉบับปฐมฤกษ์ มหกรรมวัฒนธรรม 2541 งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 หน้า
มีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่อ้อ ซอกลาง กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และการร้องประกอบเพลงในทำนองต่าง ๆ ร่วม 200 ทำนองเพลง ต่อมาได้นำมาบรรเลงในพิธีแต่งงาน เป็นเพลง กล่อมหอ ของคู่บ่าวสาว และได้พัฒนาวงกันตรึมเป็นกันตรึมประยุกต์ตามสมัยนิยม ปัจจุบันมีอยู่หลายคณะ เช่น วงของชาวบ้านดงมัน คณะน้ำผึ้งเมืองสุรินทร์ ฯลฯ และได้ปรับรูปแบบแข่งขันกันเป็นธุรกิจกันตรึมร็อค กันตรึมเจรียง เป็นต้น
กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านอื่น ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีมาแต่เมื่อไร ลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์คล้ายเพลงฉ่อย เพลงเรือ หรือลำตัดของภาคกลาง กันตรึมไม่มีแบบแผนของท่ารำที่แน่นอน ไม่เน้นทางด้านการรำ แต่เน้นความไพเราะของเสียงร้องและความสนุกสนานของทำนองเพลง ปัจจุบันมีการพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลอย่าง กลองชุด กีตาร์ และไวโอลินมาเล่นประกอบตามความนิยมของผู้ดู
ลักษณะทั่วไปของเพลงกันตรึม คือ เนื้อร้องเป็นภาษาเขมร จำนวนแต่ละวรรคไม่จำกัด บทเพลงหนึ่งมี 4 วรรค แต่ละบทไม่จำกัดความยาว สัมผัสระหว่างบท บางบทก็มีบางบทก็ไม่มี บทเพลงกันตรึมไม่นิยมร้องเป็นเรื่องราว มักคิดคำกลอนให้เหมาะกับงานที่เล่นหรือใช้บทร้องเก่า ๆ ที่จำกันมา ทำนองเพลงมีหลายจังหวะ ประมาณ 228 ทำนองเพลง มีมากจนบางทำนองไม่มีใครสามารถจำได้เพราะไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์ อาศัยการจดจำเท่านั้น คุณค่าของบทเพลงกันตรึมอยู่ที่เนื้อร้องส่วนใหญ่แสดงถึงวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมชนบท กล่าวถึงการทำนา ภารกิจ งานบ้านซึ่งเป็นหน้าที่ของภรรยา การหารายได้เลี้ยงครอบครัวเป็นหน้าที่ของสามี และแสดงค่านิยมในสังคม อาทิ การเลือกคู่ครอง เป็นต้น
(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 130 และ 145-148)
กันตรึมที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม คือ คณะบ้านดงมัน อ.เมือง จ.สุรินทร์ โดยมีอ.ปิ่น ดีสมและอ.โฆษิต ดีสม เป็นผู้ควบคุมคณะ (วารสารทางวิชาการราชภัฏบุรีรัมย์ ฉบับปฐมฤกษ์ มหกรรมวัฒนธรรม 2541 งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 หน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น